วันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560

โครงงานคอมพิวเตอร์-เทคโนโลยีอวกาศ

🔼🔽🔼🔽🔼แบบเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์🔼🔽🔼🔽🔼

1.ชื่อโครงงาน : เทคโนโลยีอวกาศ


2.ประเภทโครงงาน : การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา

3.ชื่อผู้จัดทำโครงงาน : นางสาวณัจยวา บุญพิศ 
                 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/9 เลขที่ 7

4.ครูที่ปรึกษาโครงงานอาจารย์ รุสฮาญา มูเก็ม

5.ระยะเวลาดำเนินงาน : ตั้งแต่วันที่ 4 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2560 ถึง วันที่ 30 เดือนธันวาคม พ.ศ.2560


6.แนวคิดที่มาและความสำคัญ  :


ความหมายเทคโนโลยีอวกาศ
      เทคโนโลยีอวกาศ หมายถึง การนาความรู้ที่ได้จากการสำรวจสิ่งต่างๆที่อยู่นอกโลกของเราและสำรวจโลกของเรามาใช้ประโยชน์กับมนุษย์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ ซึ่งเกี่ยวกับทางด้านดาราศาสตร์ และวิศวกรรมควบคู่กัน หรือจะให้ความหมายอีกด้านหนึ่งได้ว่า เทคโนโลยีอวกาศ หมายถึงการนา เทคโนโลยีที่ทา ขึ้นเพื่อใช้สำรวจอวกาศโดยมีวัตถุประสงค์ของการใช้งานในแต่ละครั้งแตกต่างกันไปตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โครงการอะพอลโล มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจดวงจันทร์ โครงการสกายแล็บ จุดประสงค์เพื่อค้นคว้าทดลองการอยู่ในอวกาศให้ด้านนานที่สุดศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ การแพทย์ ฟิสิกส์ โครงการอะพอลโล-โซยูส มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบระบบนัดพบ และเชื่อมยานอวกาศ โครงการขนส่งอวกาศเพื่อใช้บรรทุกสิ่งของและมนุษย์ที่ไปอวกาศ และเพื่อลดการใช้จ่ายในการใช้ยานอวกาศ

ความสำคัญเทคโนโลยีอวกาศ
       มนุษย์ได้พยายามศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับจักรวาลและอวกาศโดยมีโครงการสำรวจอวกาศ โครงการสำรวจอวกาศในหลายประเทศได้ศึกษาค้นคว้า และมีประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอวกาศมีประโยชน์มากมายในด้านต่าง ๆ เช่น การสื่อสาร การคมนาคม อุตุนิยมวิทยา การสำรวจทรัพยาการโลก การเกษตร การแพทย์ และอื่น ๆ


7.วัตถุประสงค์ :

1-เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเว็บบล็อก

2-เพื่อเป็นแนวทางและเป็นประโยชน์กับบุคคลที่สนใจทั่วไป

3-เพื่อเป็นสื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

4-เพื่อเป็นสื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศ 


8.หลักการและทฤษฎี :
ความหมายของเทคโนโลยีอวกาศ
อวกาศ หมายถึง อาณาบริวเวณอันกว้างใหญ่ที่อยู่เลยชั้นบรรยากาศของโลกออกไป ไม่สามารถระบุถึงขอบเขตได้อย่างชัดเจน โดยปกติอวกาศเป็นที่ว่างเปล่า มีความหนาแน่นน้อย การศึกษาความรู้เกี่ยวกับอวกาศจำเป็นต้องใช้ความรู้ เครื่องมือ และกลวิธีทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ ดังนั้น เทคโนโลยีอวกาศ จึงหมายถึง ระเบียบการนำความรู้ เครื่องและวิธีการต่าง ทางวิทยาศาสตร์มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับการศึกษาทางด้านดาราศาสตร์ และอวกาศ ตลอดจนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับทรัพยากรธรรมชาติ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ด้วย เช่น การนำเทคโนโลยีอวกาศมาใช้สำรวจและตรวจสอบสภาพอากาศของโลก เป็นต้น

ตัวอย่างเทคโนโลยีอวกาศ
จรวด  เป็นเครื่องยนต์พลังสูงที่สามารถเพิ่มความเร็วจนสามารถส่งดาวเทียมหรือยานอวกาศออกไปโคจร รอบโลก ได้ ถ้าความเร็วของจรวดไม่สูงมากพอหัวจรวดจะตกกลับมายังผิวโลกคล้าย ๆ การเคลื่อนที่ของ ลูกกระสุนปืน
      
      ดาวเทียม ดาวเทียมหมายถึงวัตถุที่มนุษย์ส่งขึ้นไปโคจรรอบโลก แปลมาจากคำว่า Satellite ซึ่งปกติแปลว่าดาวบริวาร ดาวเทียมดวงแรกที่ขึ้นไปโคจรรอบโลกคือสปุตนิค 1 ซึ่งเป็นดาวเทียมของประเทศสหภาพโซเวียตรัสเซีย ส่งขึ้นไปเมื่อ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2500 และดาวเทียมดวงแรกของสหรัฐอเมริกาคือเอ็กพลอเรอร์ 1 ซึ่งขึ้นไปเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2501 ปัจจุบันมีดาวเทียมหลายประเภทและทำหน้าที่ต่าง ๆ กัน เช่น ดาวเทียมที่ ใช้ประโยชน์ ในการติดต่อสื่อสารเรียกว่า ดาวเทียมสื่อสาร ดาวเทียมที่ใช้สำรวจทรัพยากรโลกเรียกว่า ดาวเทียมสำรวจพิภพ ดาวเทียมที่ถ่ายภาพและส่งข้อมูลเกี่ยวกับเมฆ ตลอดลมฟ้าอากาศ เรียกว่า ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา นอกจากนี้ยังมี ดาวเทียมดาราศาสตร์ ที่ใช้สำรวจศึกษาดวงดาวอีกมากมาย


      ยานอวกาศ หมายถึงยานที่ออกไปนอกโลก โดยมีมนุษย์ขึ้นไปด้วยพร้อมเครื่องมือและอุปกรณ์ สำหรับการสำรวจหรือไม่มีมนุษย์อวกาศขึ้นไป แต่มีอุปกรณ์และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น จึงอาจแยกยานอวกาศออกเป็น 2 พวกคือ ยานอวกาศที่มีมนุษย์ขับคุม และยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ขับคุมยานอวกาศของสหรัฐอเมริกาที่มีมนุษย์อวกาศขึ้นไปด้วยได้แก่ ยานอวกาศเมอร์คิวรี ส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไปครั้งละ 1 คน ยานอวกาศเจมินีส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไปครั้งละ 2 คน ยานอวกาศอะพอลโลส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไปคราวละ 3 คน ยานอวกาศอะพอลโล 11 เป็นยานอวกาศที่นำมนุษย์ไปลงบนดวงจันทร์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ยานขนส่งอวกาศสามารถนำมนุษย์อวกาศหลายคนและสัมภาระต่าง ๆ รวมทั้งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ แล้วนำนักบินอวกาศกลับสู่พื้นโลกได้คล้ายเครื่องร่อนยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์อวกาศขับคุมได้แก่ยานอวกาศที่ส่งไปสำรวจดาวดวงอื่น เช่น ยานเซอร์เวเยอร์ ซึ่งไปลงดวงจันทร์ ยานไวกิงไปลงดาวอังคาร ยานกาลิเลโอไปสำรวจดาวพฤหัสบดี ยานแมกเจลแลนสำรวจดาวศุกร์ ฯลฯ

  ภาพแสดงปฏิบัติการของระบบขนส่งอวกาศ
                               
สถานีอวกาศ หมายถึงสถานีหรือสิ่งก่อสร้างซึ่งเคลื่อนรอบโลก เช่น สถานีอวกาศเมียร์ของรัสเซีย สถานีอวกาศฟรีดอมของสหรัฐอเมริกา โดยความร่วมมือขององค์การอวกาศยุโรป ญี่ปุ่น แคนาดาและรัสเซียการออกไปนอกโลก ความเร็วต่ำสุดที่จะพาดาวเทียมหรือยานอวกาศออกไปนอกโลกได้ต้องไม่ต่ำกว่า 7.91 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 28,476 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถ้าออกไปเร็วมากกว่านี้ยานจะออกไปไกลจากผิวโลกมากขึ้น เช่น ถ้าไปเร็วถึง 38,880 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะไปอยู่สูงถึง 35,880 กิโลเมตร และเคลื่อนรอบโลกรอบละ 24 ชั่วโมง เร็วเท่ากับการหมุนรอบตัวเองของโลก ดาวเทียมที่อยู่ในวงจรเช่นนี้จะอยู่ค้างฟ้า ณ ที่เดิมตลอด 24 ชั่วโมง

ประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศ 
ปัจจุบันสิ่งประดิษฐ์ที่อาศัยความรู้ทางด้านเทคโนโลยีอวกาศมีมากมายหลายชิ้น โดยเฉพาะการสร้างดาวเทียมประเภทต่าง ๆ ขึ้นมาช่วยอำนวยประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในหลาย ๆ ด้าน ที่สำคัญ ได้แก่
การสื่อสาร ดาวเทียมสื่อสาร เป็นดาวเทียมที่ทำหน้าที่เป็นสถานีรับส่งคลื่นวิทยุเพื่อการสื่อสารและโทรคมนาคม ทั้งที่เป็นการสื่อสารภายในประเทศและระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่ใช้สำรับกิจการโทรศัพท์ โทรเลข โทรสาร รวมทั้งการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์และสัญญาณวิทยุ
การพยากรณ์อากาศ ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา  ทำหน้าที่ส่งสัญญาณภาพถ่ายทางอากาศที่ประกอบด้วยข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา เช่น จำนวนและชนิดของเมฆ ความแปรปรวนของอากาศ ความเร็วลม ความชื้น อุณหภูมิ ทำให้สามารถเตือนภัยที่เกิดจากธรรมชาติต่าง ๆ ได้โดยเฉพาะการเกิดพายุ
การสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ เป็นดาวเทียมที่ถูกใช้เป็นสถานีเคลื่อนที่สำรวจดูพื้นที่ผิวโลกและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้ทราบข้อมูลทั้งทางด้านธรณีวิทยา นิเวศวิทยา เป็นประโยชน์ด้านการเกษตรและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศ
      ในห้วงอวกาศอันแสนกว้างใหญ่มีปรากฏการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย มนุษย์บนโลกได้แต่เฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ เหล่านั้นจากท้องฟ้าสีคราม ทั้งสุริยุปราคา จันทรุปราคา หมู่ดาวมากมาย ผีพุ่งไต้ ดาวตก และอีกมากมายนับไม่ถ้วนชวนให้มนุษย์รุ่นต่อๆ มาสืบต่อการสังเกตการณ์บนฟากฟ้า ค้นหาความลี้ลับเกี่ยวกับอวกาศ วัตถุต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนท้องฟ้าค้นหาความลี้ลับเกี่ยวกับอวกาศ วัตถุต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนท้องฟ้า การศึกษาในภาควิชานี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่า วิชาดาราศาสตร์ วิชานี้ถือกำเนิดเมื่อ 5,000 ปี มาแล้ว นักดาราศาสตร์รุ่นแรกเป็นชาวอียิปต์และชาวบาบิโลเนีย
      นักดาราศาสตร์ คือ นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุในท้องฟ้า นักดาราศาสตร์ได้พยายามศึกษาท้องฟ้า โดยสังเกตการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์และโลกในสมัยก่อนนักดาราศาสตร์มีความเชื่อต่างๆ กัน บางกลุ่มก็เชื่อว่าโลกแบนราบ บางกลุ่มก็เชื่อว่า โลกเป็นศูนย์กลางของเอกภพและมีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวต่างๆ เคลื่อนที่รอบโลก
      การศึกษาดาราศาสตร์ เริ่มต้นอย่างจริงจังในสมัยกรีกพโตเลมี นักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ของกรีก เชื่อว่าดาวเคราะห์ต่างๆ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์โคจรรอบโลกเป็นวงกลม ความเชื่อนี้เป็นที่ยอมรับกันนานถึง 1,700 ปี ต่อมา นิโคลาส คอปเปอร์นิคัส นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ได้เสนอความคิดว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ แต่ความคิดของเขาเป็นที่ยอมรับหลังจากที่เขาตายไปแล้วเกือบ 100 ปี

ชีวิตในอวกาศ
      อวกาศ คืออาณาเขตบริเวณอันกว้างใหญ่ไม่มีขอบเขตที่แน่นอน ในอวกาศไม่มีน้ำ ไม่มีอากาศ มนุษย์และสิ่งมีชีวิตใดๆ ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ในอวกาศได้ เมื่อมนุษย์อวกาศหรือนักบินอวกาศจะต้องสวมชุดอวกาศที่ออกแบบเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันรังสีจากดวงอาทิตย์และฝุ่นละอองต่างๆ ชุดอวกาศจะช่วยควบคุมความกดดันอากาศและช่วยจ่ายอากาศให้กับมนุษย์อวกาศมนุษย์อวกาศจะต้องเรียนรู้การใช้ชีวิตและการปฏิบัติงานในยานอวกาศ เนื่องจากในสถานีอวกาศจะอยู่ในสภาพไร้น้ำหนัก การพักผ่อน นอนหลับ การกินอาหาร หรือการขับถ่ายจึงต้องออกแบบเป็นพิเศษ เพื่อให้สะดวกต่อมนุษย์อวกาศให้มากที่สุด



การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ
      เมื่อมนุษย์สามารถเดินทางไปยังอวกาศที่อยู่แสนไกลได้ ทำให้เกิดการค้นพบมากมายในอวกาศ มนุษย์จึงนำความรู้ที่ได้ค้นพบมาพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวกับอวกาศ การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ ทำให้เกิดการพัฒนาในด้านอื่นๆ อีก เช่น การสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ การสื่อสาร การสำรวจสภาพอากาศ ด้านการแพทย์ และด้านอื่นๆ อีกมากมาย การศึกษาด้านอวกาศจึงเจริญรุดหน้าต่อไป เพื่อยังประโยชน์แก่มนุษยชาติอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งเราสามารถลำดับความก้าวหน้าในการสำรวจอวกาศได้ดังนี้
-..1775 ชาวจีนได้พัฒนาจรวดดินปืน                                           
-..2152 กาลิเลโอ นักดาราศาสตร์ชาวอิตาเลียนใช้กล้องโทรทรรศน์ที่ประดิษฐ์ ขึ้น ศึกษาดาวเคราะห์และดาวต่างๆ บนท้องฟ้า                                                
-..2383 นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันถ่ายภาพดวงจันทร์ได้เป็นครั้งแรก 
-..2446 พี่น้องตระกูลไรท์ นักประดิษฐ์ชาวอเมริกันประดิษฐ์เครื่องบินเป็นครั้งแรก                                       
-..2480 นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุเพื่อการวิจัยเป็นครั้งแรก                            
-..2487 กองทัพเยอรมันใช้จรวดในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2                                          
-..2500 สหภาพโซเวียตส่งยานสปุตนิก 1 ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกขึ้นไปโคจรในอวกาศ                              
-..2504 มนุษย์อวกาศโซเวียตชื่อ ยูริ กาการินขึ้นไปในอวกาศเป็นคนแรก                                   
-..2512 ยานอวกาศอพอลโล 11 พร้อมมนุษย์อวกาศไปลงบนดวงจันทร์                                    
-..2520 ยานอวกาศของสหรัฐอเมริกาไปสำรวจดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน                  
-..2524 สหรัฐอเมริกาส่งยานขนส่งอวกาศลำแรกชื่อโคลัมเบียออกจากแหลม คาราเวอรัล รัฐฟลอริดา   
-..2533 สหรัฐอเมริกาและองค์การอวกาศยุโรปส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลขึ้นไปโคจรรอบโลก
-..2533 องค์การนาซาส่งยานอวกาศโซโหขององค์การฯ ยุโรปขึ้นไปสำรวจดวงอาทิตย์                   
-..2539 มาร์ส โกลบอล เซอร์เวเยอร์ และมาร์ส พาทไฟน์เดอร์ โครงการยานอวกาศสำรวจดาวอังคาร
-..2544 เกิดธุรกิจท่องเที่ยวในอวกาศโดยรัสเซียจำหน่ายตั๋วท่องเที่ยวอวกาศซึ่งมหา เศรษฐีชาวอเมริกันวัย 60 ปี ชื่อเอนิส ติโต ขึ้นไป

9.ขั้นตอนการปฏิบัติ
 วัน-เดือน-ปี
        กิจกรรม 
       ผู้รับผิดชอบ
4/11/60
จัดการกับระบบG-mailของตัวเราเอง
นางสาวณัจยวา บุญพิศ
11/11/60
เริ่มสร้าง Web Blog : www.blogger.com
นางสาวณัจยวา บุญพิศ
18/11/60
หาหัวข้อโครงงานตามตัวอย่างจากเว็บไซต์ต่างๆ
นางสาวณัจยวา บุญพิศ
25/11/60
เพิ่มเนื้อหาในโครงงานบนเว็บบล็อก
นางสาวณัจยวา บุญพิศ
2/12/60
หาข้อมูลเพิ่มเติม
นางสาวณัจยวา บุญพิศ
9/12/60
หาข้อมูลและรูปภาพเพิ่มเติม
นางสาวณัจยวา บุญพิศ
16/12/60
นำข้อมูลและภาพมาตัดต่อลงโครงงาน
นางสาวณัจยวา บุญพิศ
23/12/60
เนื้อหาในโครงงานเสร็จสมบูรณ์
นางสาวณัจยวา บุญพิศ
30/12/60
เผยแพร่-ส่งงาน-ตรวจงาน
นางสาวณัจยวา บุญพิศ

10.ผลที่คาดว่าจะได้รับ :

1-ผู้สนใจมีความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศ
2-ได้รับความรู้เกี่ยวกับการสร้างสื่อวีดีทัศน์

11.เอกสารอ้างอิง : https://mikejakkrit668.wordpress.com

    https://sites.google.com                           

12.ภาพผนวก(ภาพและกิจกรรมต่างๆ) :


ดาวเทียม











PALAPAของอินโดนีเซีย        









THAICOMของประเทศไทย      


                          
 




COMSTARของอเมริกา


 🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀