🔼🔽🔼🔽🔼แบบเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์🔼🔽🔼🔽🔼
1.ชื่อโครงงาน : เทคโนโลยีอวกาศ
2.ประเภทโครงงาน : การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
3.ชื่อผู้จัดทำโครงงาน : นางสาวณัจยวา บุญพิศ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/9 เลขที่ 7
4.ครูที่ปรึกษาโครงงาน : อาจารย์ รุสฮาญา มูเก็ม
5.ระยะเวลาดำเนินงาน : ตั้งแต่วันที่ 4 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2560 ถึง วันที่ 30 เดือนธันวาคม พ.ศ.2560
6.แนวคิดที่มาและความสำคัญ :
ความหมายเทคโนโลยีอวกาศ
เทคโนโลยีอวกาศ หมายถึง
การนาความรู้ที่ได้จากการสำรวจสิ่งต่างๆที่อยู่นอกโลกของเราและสำรวจโลกของเรามาใช้ประโยชน์กับมนุษย์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ
ซึ่งเกี่ยวกับทางด้านดาราศาสตร์ และวิศวกรรมควบคู่กัน
หรือจะให้ความหมายอีกด้านหนึ่งได้ว่า เทคโนโลยีอวกาศ หมายถึงการนา เทคโนโลยีที่ทา
ขึ้นเพื่อใช้สำรวจอวกาศโดยมีวัตถุประสงค์ของการใช้งานในแต่ละครั้งแตกต่างกันไปตามความต้องการของมนุษย์
เช่น โครงการอะพอลโล มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจดวงจันทร์ โครงการสกายแล็บ
จุดประสงค์เพื่อค้นคว้าทดลองการอยู่ในอวกาศให้ด้านนานที่สุดศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ
การแพทย์ ฟิสิกส์ โครงการอะพอลโล-โซยูส มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบระบบนัดพบ
และเชื่อมยานอวกาศ โครงการขนส่งอวกาศเพื่อใช้บรรทุกสิ่งของและมนุษย์ที่ไปอวกาศ
และเพื่อลดการใช้จ่ายในการใช้ยานอวกาศ
ความสำคัญเทคโนโลยีอวกาศ
มนุษย์ได้พยายามศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับจักรวาลและอวกาศโดยมีโครงการสำรวจอวกาศ
โครงการสำรวจอวกาศในหลายประเทศได้ศึกษาค้นคว้า และมีประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ซึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอวกาศมีประโยชน์มากมายในด้านต่าง ๆ เช่น การสื่อสาร
การคมนาคม อุตุนิยมวิทยา การสำรวจทรัพยาการโลก การเกษตร การแพทย์ และอื่น ๆ
7.วัตถุประสงค์ :
1-เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเว็บบล็อก
2-เพื่อเป็นแนวทางและเป็นประโยชน์กับบุคคลที่สนใจทั่วไป
3-เพื่อเป็นสื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
4-เพื่อเป็นสื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศ 8.หลักการและทฤษฎี :
ความหมายของเทคโนโลยีอวกาศ
อวกาศ หมายถึง
อาณาบริวเวณอันกว้างใหญ่ที่อยู่เลยชั้นบรรยากาศของโลกออกไป ไม่สามารถระบุถึงขอบเขตได้อย่างชัดเจน โดยปกติอวกาศเป็นที่ว่างเปล่า มีความหนาแน่นน้อย การศึกษาความรู้เกี่ยวกับอวกาศจำเป็นต้องใช้ความรู้
เครื่องมือ และกลวิธีทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ ดังนั้น เทคโนโลยีอวกาศ จึงหมายถึง ระเบียบการนำความรู้ เครื่องและวิธีการต่าง
ทางวิทยาศาสตร์มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับการศึกษาทางด้านดาราศาสตร์ และอวกาศ ตลอดจนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับทรัพยากรธรรมชาติ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ด้วย เช่น การนำเทคโนโลยีอวกาศมาใช้สำรวจและตรวจสอบสภาพอากาศของโลก เป็นต้น
ตัวอย่างเทคโนโลยีอวกาศ
จรวด เป็นเครื่องยนต์พลังสูงที่สามารถเพิ่มความเร็วจนสามารถส่งดาวเทียมหรือยานอวกาศออกไปโคจร
รอบโลก ได้ ถ้าความเร็วของจรวดไม่สูงมากพอหัวจรวดจะตกกลับมายังผิวโลกคล้าย ๆ
การเคลื่อนที่ของ ลูกกระสุนปืน
ดาวเทียม ดาวเทียมหมายถึงวัตถุที่มนุษย์ส่งขึ้นไปโคจรรอบโลก
แปลมาจากคำว่า Satellite ซึ่งปกติแปลว่าดาวบริวาร
ดาวเทียมดวงแรกที่ขึ้นไปโคจรรอบโลกคือสปุตนิค 1 ซึ่งเป็นดาวเทียมของประเทศสหภาพโซเวียตรัสเซีย
ส่งขึ้นไปเมื่อ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2500 และดาวเทียมดวงแรกของสหรัฐอเมริกาคือเอ็กพลอเรอร์
1 ซึ่งขึ้นไปเมื่อวันที่ 31 มกราคม
พ.ศ. 2501 ปัจจุบันมีดาวเทียมหลายประเภทและทำหน้าที่ต่าง ๆ
กัน เช่น ดาวเทียมที่ ใช้ประโยชน์ ในการติดต่อสื่อสารเรียกว่า ดาวเทียมสื่อสาร
ดาวเทียมที่ใช้สำรวจทรัพยากรโลกเรียกว่า ดาวเทียมสำรวจพิภพ
ดาวเทียมที่ถ่ายภาพและส่งข้อมูลเกี่ยวกับเมฆ ตลอดลมฟ้าอากาศ เรียกว่า
ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา นอกจากนี้ยังมี ดาวเทียมดาราศาสตร์
ที่ใช้สำรวจศึกษาดวงดาวอีกมากมาย
ยานอวกาศ หมายถึงยานที่ออกไปนอกโลก
โดยมีมนุษย์ขึ้นไปด้วยพร้อมเครื่องมือและอุปกรณ์
สำหรับการสำรวจหรือไม่มีมนุษย์อวกาศขึ้นไป
แต่มีอุปกรณ์และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น จึงอาจแยกยานอวกาศออกเป็น 2 พวกคือ ยานอวกาศที่มีมนุษย์ขับคุม และยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ขับคุมยานอวกาศของสหรัฐอเมริกาที่มีมนุษย์อวกาศขึ้นไปด้วยได้แก่
ยานอวกาศเมอร์คิวรี ส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไปครั้งละ 1 คน
ยานอวกาศเจมินีส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไปครั้งละ 2 คน
ยานอวกาศอะพอลโลส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไปคราวละ 3 คน
ยานอวกาศอะพอลโล 11 เป็นยานอวกาศที่นำมนุษย์ไปลงบนดวงจันทร์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่
22 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ยานขนส่งอวกาศสามารถนำมนุษย์อวกาศหลายคนและสัมภาระต่าง
ๆ รวมทั้งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ
แล้วนำนักบินอวกาศกลับสู่พื้นโลกได้คล้ายเครื่องร่อนยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์อวกาศขับคุมได้แก่ยานอวกาศที่ส่งไปสำรวจดาวดวงอื่น
เช่น ยานเซอร์เวเยอร์ ซึ่งไปลงดวงจันทร์ ยานไวกิงไปลงดาวอังคาร
ยานกาลิเลโอไปสำรวจดาวพฤหัสบดี ยานแมกเจลแลนสำรวจดาวศุกร์ ฯลฯ
สถานีอวกาศ หมายถึงสถานีหรือสิ่งก่อสร้างซึ่งเคลื่อนรอบโลก
เช่น สถานีอวกาศเมียร์ของรัสเซีย สถานีอวกาศฟรีดอมของสหรัฐอเมริกา
โดยความร่วมมือขององค์การอวกาศยุโรป ญี่ปุ่น แคนาดาและรัสเซียการออกไปนอกโลก
ความเร็วต่ำสุดที่จะพาดาวเทียมหรือยานอวกาศออกไปนอกโลกได้ต้องไม่ต่ำกว่า 7.91 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 28,476 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ถ้าออกไปเร็วมากกว่านี้ยานจะออกไปไกลจากผิวโลกมากขึ้น เช่น ถ้าไปเร็วถึง 38,880
กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะไปอยู่สูงถึง 35,880 กิโลเมตร
และเคลื่อนรอบโลกรอบละ 24 ชั่วโมง
เร็วเท่ากับการหมุนรอบตัวเองของโลก ดาวเทียมที่อยู่ในวงจรเช่นนี้จะอยู่ค้างฟ้า ณ
ที่เดิมตลอด 24 ชั่วโมง
ประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศ
ปัจจุบันสิ่งประดิษฐ์ที่อาศัยความรู้ทางด้านเทคโนโลยีอวกาศมีมากมายหลายชิ้น โดยเฉพาะการสร้างดาวเทียมประเภทต่าง ๆ
ขึ้นมาช่วยอำนวยประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในหลาย ๆ ด้าน ที่สำคัญ ได้แก่
การสื่อสาร ดาวเทียมสื่อสาร เป็นดาวเทียมที่ทำหน้าที่เป็นสถานีรับส่งคลื่นวิทยุเพื่อการสื่อสารและโทรคมนาคม ทั้งที่เป็นการสื่อสารภายในประเทศและระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่ใช้สำรับกิจการโทรศัพท์ โทรเลข โทรสาร รวมทั้งการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์และสัญญาณวิทยุ
การพยากรณ์อากาศ ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา ทำหน้าที่ส่งสัญญาณภาพถ่ายทางอากาศที่ประกอบด้วยข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา เช่น จำนวนและชนิดของเมฆ ความแปรปรวนของอากาศ ความเร็วลม ความชื้น อุณหภูมิ ทำให้สามารถเตือนภัยที่เกิดจากธรรมชาติต่าง
ๆ ได้โดยเฉพาะการเกิดพายุ
การสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ เป็นดาวเทียมที่ถูกใช้เป็นสถานีเคลื่อนที่สำรวจดูพื้นที่ผิวโลกและการเปลี่ยนแปลงต่าง
ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้ทราบข้อมูลทั้งทางด้านธรณีวิทยา นิเวศวิทยา เป็นประโยชน์ด้านการเกษตรและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศ
ในห้วงอวกาศอันแสนกว้างใหญ่มีปรากฏการณ์ต่างๆ
เกิดขึ้นมากมาย มนุษย์บนโลกได้แต่เฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ
เหล่านั้นจากท้องฟ้าสีคราม ทั้งสุริยุปราคา จันทรุปราคา หมู่ดาวมากมาย ผีพุ่งไต้
ดาวตก และอีกมากมายนับไม่ถ้วนชวนให้มนุษย์รุ่นต่อๆ มาสืบต่อการสังเกตการณ์บนฟากฟ้า
ค้นหาความลี้ลับเกี่ยวกับอวกาศ วัตถุต่างๆ
ที่ปรากฏอยู่บนท้องฟ้าค้นหาความลี้ลับเกี่ยวกับอวกาศ วัตถุต่างๆ
ที่ปรากฏอยู่บนท้องฟ้า
การศึกษาในภาควิชานี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่า วิชาดาราศาสตร์
วิชานี้ถือกำเนิดเมื่อ 5,000 ปี มาแล้ว นักดาราศาสตร์รุ่นแรกเป็นชาวอียิปต์และชาวบาบิโลเนีย
นักดาราศาสตร์ คือ
นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุในท้องฟ้า นักดาราศาสตร์ได้พยายามศึกษาท้องฟ้า
โดยสังเกตการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์และโลกในสมัยก่อนนักดาราศาสตร์มีความเชื่อต่างๆ
กัน บางกลุ่มก็เชื่อว่าโลกแบนราบ บางกลุ่มก็เชื่อว่า
โลกเป็นศูนย์กลางของเอกภพและมีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวต่างๆ
เคลื่อนที่รอบโลก
การศึกษาดาราศาสตร์
เริ่มต้นอย่างจริงจังในสมัยกรีกพโตเลมี
นักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ของกรีก เชื่อว่าดาวเคราะห์ต่างๆ ดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์โคจรรอบโลกเป็นวงกลม ความเชื่อนี้เป็นที่ยอมรับกันนานถึง 1,700 ปี
ต่อมา นิโคลาส คอปเปอร์นิคัส
นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ได้เสนอความคิดว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ
แต่ความคิดของเขาเป็นที่ยอมรับหลังจากที่เขาตายไปแล้วเกือบ 100 ปี
ชีวิตในอวกาศ
อวกาศ คืออาณาเขตบริเวณอันกว้างใหญ่ไม่มีขอบเขตที่แน่นอน
ในอวกาศไม่มีน้ำ ไม่มีอากาศ มนุษย์และสิ่งมีชีวิตใดๆ
ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ในอวกาศได้
เมื่อมนุษย์อวกาศหรือนักบินอวกาศจะต้องสวมชุดอวกาศที่ออกแบบเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันรังสีจากดวงอาทิตย์และฝุ่นละอองต่างๆ
ชุดอวกาศจะช่วยควบคุมความกดดันอากาศและช่วยจ่ายอากาศให้กับมนุษย์อวกาศมนุษย์อวกาศจะต้องเรียนรู้การใช้ชีวิตและการปฏิบัติงานในยานอวกาศ
เนื่องจากในสถานีอวกาศจะอยู่ในสภาพไร้น้ำหนัก การพักผ่อน นอนหลับ การกินอาหาร
หรือการขับถ่ายจึงต้องออกแบบเป็นพิเศษ เพื่อให้สะดวกต่อมนุษย์อวกาศให้มากที่สุด
การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ
เมื่อมนุษย์สามารถเดินทางไปยังอวกาศที่อยู่แสนไกลได้
ทำให้เกิดการค้นพบมากมายในอวกาศ
มนุษย์จึงนำความรู้ที่ได้ค้นพบมาพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวกับอวกาศ
การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ ทำให้เกิดการพัฒนาในด้านอื่นๆ อีก เช่น
การสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ การสื่อสาร การสำรวจสภาพอากาศ ด้านการแพทย์ และด้านอื่นๆ
อีกมากมาย การศึกษาด้านอวกาศจึงเจริญรุดหน้าต่อไป
เพื่อยังประโยชน์แก่มนุษยชาติอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ซึ่งเราสามารถลำดับความก้าวหน้าในการสำรวจอวกาศได้ดังนี้
-พ.ศ.1775 ชาวจีนได้พัฒนาจรวดดินปืน
-พ.ศ.2152 กาลิเลโอ นักดาราศาสตร์ชาวอิตาเลียนใช้กล้องโทรทรรศน์ที่ประดิษฐ์ ขึ้น ศึกษาดาวเคราะห์และดาวต่างๆ
บนท้องฟ้า
-พ.ศ.2383 นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันถ่ายภาพดวงจันทร์ได้เป็นครั้งแรก
-พ.ศ.2446 พี่น้องตระกูลไรท์ นักประดิษฐ์ชาวอเมริกันประดิษฐ์เครื่องบินเป็นครั้งแรก
-พ.ศ.2480 นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุเพื่อการวิจัยเป็นครั้งแรก
-พ.ศ.2487 กองทัพเยอรมันใช้จรวดในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
-พ.ศ.2500 สหภาพโซเวียตส่งยานสปุตนิก 1 ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกขึ้นไปโคจรในอวกาศ
-พ.ศ.2504 มนุษย์อวกาศโซเวียตชื่อ ยูริ กาการินขึ้นไปในอวกาศเป็นคนแรก
-พ.ศ.2512 ยานอวกาศอพอลโล 11 พร้อมมนุษย์อวกาศไปลงบนดวงจันทร์
-พ.ศ.2520 ยานอวกาศของสหรัฐอเมริกาไปสำรวจดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส
และดาวเนปจูน
-พ.ศ.2524 สหรัฐอเมริกาส่งยานขนส่งอวกาศลำแรกชื่อโคลัมเบียออกจากแหลม คาราเวอรัล รัฐฟลอริดา
-พ.ศ.2533 สหรัฐอเมริกาและองค์การอวกาศยุโรปส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลขึ้นไปโคจรรอบโลก
-พ.ศ.2533 องค์การนาซาส่งยานอวกาศโซโหขององค์การฯ ยุโรปขึ้นไปสำรวจดวงอาทิตย์
-พ.ศ.2539 มาร์ส โกลบอล เซอร์เวเยอร์ และมาร์ส พาทไฟน์เดอร์
โครงการยานอวกาศสำรวจดาวอังคาร
-พ.ศ.2544 เกิดธุรกิจท่องเที่ยวในอวกาศโดยรัสเซียจำหน่ายตั๋วท่องเที่ยวอวกาศซึ่งมหา เศรษฐีชาวอเมริกันวัย 60 ปี ชื่อเอนิส
ติโต ขึ้นไป
9.ขั้นตอนการปฏิบัติ
วัน-เดือน-ปี
|
กิจกรรม
|
ผู้รับผิดชอบ
|
4/11/60
|
จัดการกับระบบG-mailของตัวเราเอง
|
นางสาวณัจยวา บุญพิศ
|
11/11/60
|
เริ่มสร้าง Web Blog : www.blogger.com
|
นางสาวณัจยวา
บุญพิศ
|
18/11/60
|
หาหัวข้อโครงงานตามตัวอย่างจากเว็บไซต์ต่างๆ
|
นางสาวณัจยวา บุญพิศ
|
25/11/60
|
เพิ่มเนื้อหาในโครงงานบนเว็บบล็อก
|
นางสาวณัจยวา
บุญพิศ
|
2/12/60
|
หาข้อมูลเพิ่มเติม
|
นางสาวณัจยวา บุญพิศ
|
9/12/60
|
หาข้อมูลและรูปภาพเพิ่มเติม
|
นางสาวณัจยวา
บุญพิศ
|
16/12/60
|
นำข้อมูลและภาพมาตัดต่อลงโครงงาน
|
นางสาวณัจยวา บุญพิศ
|
23/12/60
|
เนื้อหาในโครงงานเสร็จสมบูรณ์
|
นางสาวณัจยวา
บุญพิศ
|
30/12/60
|
เผยแพร่-ส่งงาน-ตรวจงาน
|
นางสาวณัจยวา บุญพิศ
|
10.ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1-ผู้สนใจมีความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศ
2-ได้รับความรู้เกี่ยวกับการสร้างสื่อวีดีทัศน์
11.เอกสารอ้างอิง : https://mikejakkrit668.wordpress.com
12.ภาพผนวก(ภาพและกิจกรรมต่างๆ) :
ดาวเทียม
PALAPAของอินโดนีเซีย
THAICOMของประเทศไทย
COMSTARของอเมริกา
🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀
ตรวจแล้ว
ตอบลบThe sands casino in sands casino
ตอบลบThe sands casino is situated in The Mirage Resort, in 1xbet Las Vegas. Its location is on the north end of the Las Vegas 샌즈카지노 Strip, just a Owner: Sands of Las VegasOpening date: January 28, 1994; 16 years aTotal gaming งานออนไลน์ space: 27,000 sq ft